วันอาทิตย์ที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2556

อาเซียนกับคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ






อาเซียนกับคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ (1)
อาเซียนก็เป็นอีกหนึ่งคำที่คนไทยรู้จักกันมากขึ้นเรื่อยๆ บางคนก็เพิ่งรู้จัก แต่อีกหลายๆคนก็รู้จักคำนี้เป็นอย่างดีแล้ว ประเทศไทยก็เป็นหนึ่งในประเทศของกลุ่มประเทศอาเซียน คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นอีกหนึ่งศาสตร์ที่กำลังตื่นตัวและเป็นพลังสำคัญในด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตประจำวันทั้งทางตรงและทางอ้อม อีกทั้งไทยยังมีบทบาทมากมายด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศทั้งในตัวอาเซียนเอง รวมไปถึงทั่วโลกอีกด้วย
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับอาเซียน
อาเซียน(ASEAN) หรือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of South East Asian Nations) เป็นองค์กรทางภูมิรัฐศาสตร์และองค์การความร่วมมือทางเศรษฐกิจ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีประเทศสมาชิกทั้งหมด 10 ประเทศ ได้แก่ ไทย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย สิงคโปร์ บรูไน ลาว กัมพูชา เวียดนาม และพม่า เหลือเพียงตีมอร์ตะวันออก ที่เป็นประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่ยังไม่เป็นสมาชิก แต่ก็พยายามที่จะเป็นสมาชิกอยู่
ในปัจจุบัน คิดเป็นพื้นที่ของกลุ่มประเทศอาเซียนประมาณ 4.5 ล้านตารางกิโลเมตร และมีประชากรประมาณ 560 ล้านคน (ข้อมูลในปี พ.ศ. 2549) โดยส่วนใหญ่มีมีสภาพภูมิอากาศแบบร้อนชื้น อุณหภูมิอยู่ระหว่าง 27-36 °C พืชพรรณธรรมชาติเป็นป่าฝนเขตร้อน ซึ่งมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่สองของโลก โดยมีผลิตภัณฑ์ที่ส่งออกก็มีหลากหลายโดยเน้นไปที่ผลิตภัณฑ์เกษตร มีพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ คือ ข้าว ข้าวโพด มันสำปะหลัง สับปะรด ยางพารา ปาล์มน้ำมันและพริกไทย
สำหรับเป้าหมายของการตั้งกลุ่มอาเซียนนั้น จากสนธิสัญญาไมตรีและความร่วมมือในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้มีการสรุปแนวทางของอาเซียนไว้จำนวนหกข้อ ดังนี
  1. ให้ความเคารพแก่เอกราช อำนาจอธิปไตย ความเท่าเทียม บูรณภาพแห่งดินแดนและเอกลักษณ์ของชาติสมาชิกทั้งหมด
  2. รัฐสมาชิกแต่ละรัฐมีสิทธิที่จะปลอดจากการแทรกแซงจากภายนอก การรุกรานดินแดนและการบังคับขู่เข็ญ
  3. จะไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับกิจการภายในของรัฐสมาชิกอื่น ๆ
  4. ยอมรับในความแตกต่างระหว่างกัน หรือแก้ปัญหาระหว่างกันอย่างสันติ
  5. ประณามหรือไม่ยอมรับการคุกคามหรือการใช้กำลัง
  6. ให้ความร่วมมือระหว่างกันอย่างมีประสิทธิภาพ

ส่วนเรื่องเทคโนโลยีนั้น แต่ละประเทศก็มีเทคโนโลยีสารสนเทศและเทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์ที่แตกต่างกันพอสมควร ซึ่งแน่นอนว่าประเทศที่มีเทคโนโลยีสูงสุดในอาเซียนก็คือ ประเทศสิงคโปร์ ซึ่งมีองค์กรที่ชื่อว่า The Agency for Science, Technology and Research ( A*STAR) เป็นหน่วยงานของรัฐโดยเฉพาะที่ให้การสนับสนุน การวิจัย พัฒนาทางการแพทย์และด้านวิทยาศาสตร์ที่มีความโดดเด่นทั่วโลก อีกทั้งสิงคโปร์ยังมีกองทัพทันสมัยที่สุดในอาเซียน
หลายคนอาจสงสัยว่าอาเซียนกับเทคโนยีสารสนเทศและคอมพิวเตอร์มีความเชื่อมโยงกับอย่างไร ให้ทุกคนนึกถึงเรื่องเศรษฐกิจ ซึ่ง กลุ่มอาเซียนได้ให้ความสำคัญกับความร่วมมือในภูมิภาค อันประกอบด้วย "หลักสามประการ" ของความมั่นคง สังคมวัฒนธรรมและการรวมตัวทางเศรษฐกิจ การรวมกลุ่มกันในภูมิภาคได้ทำให้การรวมตัวทางเศรษฐกิจดำเนินไปอย่างรวดเร็ว ซึ่งคาดว่าจะประสบความสำเร็จในการก่อตั้สิ่งที่เรียกว่า ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ภายในปี พ.ศ. 2558 ประชาคมเศรษฐกิจดังกล่าวจะมีประชากรรวมกัน 560 ล้านคน และมูลค่าการค้ากว่า 1.4 ล้านล้านดอลล่าร์สหรัฐ ซึ่งหนึ่งในมูลค่าการค้าเหล่านี้เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศและ เรื่องของคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในส่วนของหมวดสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ นอกจากนี้ยังมีความร่วมมือระหว่างกันของกลุ่มประเทศอาเซียนเกิดขึ้นมากมาย หนึ่งในนั้นคือ แผนแม่บทไอซีทีของอาเซียน 2015 (ASEAN ICT Masterplan 2015) ซึ่งมีจุดหมายสำคัญคือ จะใช้ไอซีทีในการขับเคลื่อนด้านสังคมและเศรษฐกิจในอาเซียน ไอซีทีจะช่วยการปฎิรูปอาเซียนให้เป็นตลาดเดียว ด้วยวิธีพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐานไอซีทียุคใหม่ และพัฒนาทุนมนุษย์ที่มีฝีมือส่งเสริมอุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับงานสร้างสรรค์และนวัตกรรม จัดให้มีนโยบายส่งเสริม และสร้างสภาพแวดล้อมที่มีกฎระเบียบ ด้วยมาตรการดังกล่าว อาเซียนจะเสริมสร้างพลังให้แก่ชุมชน และผลักดันให้อาเซียนมีสถานภาพเป็นศูนย์กลางไอซีที ที่ครอบคลุมได้อย่างทั่วถึง และคืกคัก ส่งผลให้อาเซียนเป็นภูมิภาคที่เหมาะกับการพัฒนาทางเศรษฐกิจ

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศคำว่าเทคโนโลยีหลายท่านน่าจะรู้จักคุ้นเคยกันดี แต่ชาวบ้านทั่วไปอาจไม่ทราบความหมายที่แท้จริง เทคโนโลยี หมายถึง การประยุกต์เอาความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์มาใช้ให้เกิดประโยชน์ การศึกษาพัฒนาองค์ความรู้ต่าง ๆ ก็เพื่อให้เข้าใจธรรมชาติ กฎเกณฑ์ของสิ่งต่าง ๆ และหาทางนำมาประยุกต์ให้เกิดประโยชน์ หลายท่านอาจจะยังงงอยู่ อธิบายง่ายๆ เช่น ทรายที่เราเห็นอยู่ตามพื้นดิน ตามชายหาด ซึ่งมีธาตุที่มีชื่อว่าซิลิกอน ซึ่งแน่นอนทรายที่เราเห้นนี้อาจไม่มีค่า หรือมีราคาต่ำและเรามองข้ามไป เมื่อมีบางคนที่เรียนรู้วิธีการแยกสกัดเอาสารซิลิกอนผ่านกรรมวิธีทางเทคโนโลยีให้บริสุทธิ์ และเจือสารบางอย่างให้เกิดเป็นสิ่งที่เรียกว่าสารกึ่งตัวนำ นำมาผลิตเป็นทรานซิสเตอร์ และจากจำนวนล้านๆทรานซิสเตอร์ก็บรรจุรวมกันเป็นไอซี (Integrated Circuit : IC) มีราคาสูงขึ้นมาจากทรายธรรมดามาก นั้นทำให้เทคโนโลยีจึงเป็นสิ่งที่ช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ต่างๆ
ส่วนคำว่าสารสนเทศ ความหมายง่ายๆก็คือ ความรู้ที่เราได้มาจากข้อมูลที่ผ่านการเลือกสรรให้เหมาะสมกับการใช้งานให้ทันเวลา และอยู่ในรูปที่ใช้ได้ ตัวอย่างเช่น ช่วงนี้ฝนตกบ่อย เป็นข้อความที่มีข้อมูลแต่ยังไม่ผ่านกระบวนการให้เหมาะสม แต่ถ้าเราบอกว่า ที่ปัตตานีตั้งแต่เดือนเมษายนถึงเดือนกันยายนเป็นฤดูร้อน นั่นเอง จึงเป็นข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์และผ่านการประมวลผลแล้ว ความรอบรู้ของแต่ละคนจึงขึ้นอยู่กับการเรียกใช้ข้อมูลนั้น ทุกวันนี้มีข้อมูลรอบตัวเรามาก ข้อมูลเหล่านี้มาจากสื่อ เช่น วิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรือแม้แต่การสื่อสารระหว่างบุคคล จึงมีผู้กล่าวว่ายุคนี้เป็นยุคของสารสนเทศ
ดังนั้นเราจึงสรุปได้สั้นๆว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ ก็คือ การพัฒนาด้านต่างๆเพื่อใช้กับข้อมูลข่าวสาร อาทิเช่น    การรวบรวมการจัดเก็บข้อมูล การประมวลผล การพิมพ์ การสร้างรายงาน การสื่อสารข้อมูล เป็นต้น ซึ่งนอกจากนี้อาจจะรวมไปถึงการสร้างระบบต่างๆ เช่น ระบบการให้บริการ การใช้ และการดูแลข้อมูล
ในยุคปัจจุบันไม่ว่าเราจะหาข้อมูล ติดต่อ ค้นหา ศึกษาระหว่างกัน ประเทศเพื่อนบ้านอาเซียน ไม่ว่าใกล้ไกลอย่างไรก็ต้องผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศนั่นเอง
อาเซียนกับคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ (1)
อาเซียนก็เป็นอีกหนึ่งคำที่คนไทยรู้จักกันมากขึ้นเรื่อยๆ บางคนก็เพิ่งรู้จัก แต่อีกหลายๆคนก็รู้จักคำนี้เป็นอย่างดีแล้ว ประเทศไทยก็เป็นหนึ่งในประเทศของกลุ่มประเทศอาเซียน คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นอีกหนึ่งศาสตร์ที่กำลังตื่นตัวและเป็นพลังสำคัญในด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตประจำวันทั้งทางตรงและทางอ้อม อีกทั้งไทยยังมีบทบาทมากมายด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศทั้งในตัวอาเซียนเอง รวมไปถึงทั่วโลกอีกด้วย
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับอาเซียน
อาเซียน(ASEAN) หรือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of South East Asian Nations) เป็นองค์กรทางภูมิรัฐศาสตร์และองค์การความร่วมมือทางเศรษฐกิจ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีประเทศสมาชิกทั้งหมด 10 ประเทศ ได้แก่ ไทย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย สิงคโปร์ บรูไน ลาว กัมพูชา เวียดนาม และพม่า เหลือเพียงตีมอร์ตะวันออก ที่เป็นประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่ยังไม่เป็นสมาชิก แต่ก็พยายามที่จะเป็นสมาชิกอยู่
ในปัจจุบัน คิดเป็นพื้นที่ของกลุ่มประเทศอาเซียนประมาณ 4.5 ล้านตารางกิโลเมตร และมีประชากรประมาณ 560 ล้านคน (ข้อมูลในปี พ.ศ. 2549) โดยส่วนใหญ่มีมีสภาพภูมิอากาศแบบร้อนชื้น อุณหภูมิอยู่ระหว่าง 27-36 °C พืชพรรณธรรมชาติเป็นป่าฝนเขตร้อน ซึ่งมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่สองของโลก โดยมีผลิตภัณฑ์ที่ส่งออกก็มีหลากหลายโดยเน้นไปที่ผลิตภัณฑ์เกษตร มีพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ คือ ข้าว ข้าวโพด มันสำปะหลัง สับปะรด ยางพารา ปาล์มน้ำมันและพริกไทย
สำหรับเป้าหมายของการตั้งกลุ่มอาเซียนนั้น จากสนธิสัญญาไมตรีและความร่วมมือในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้มีการสรุปแนวทางของอาเซียนไว้จำนวนหกข้อ ดังนี
  1. ให้ความเคารพแก่เอกราช อำนาจอธิปไตย ความเท่าเทียม บูรณภาพแห่งดินแดนและเอกลักษณ์ของชาติสมาชิกทั้งหมด
  2. รัฐสมาชิกแต่ละรัฐมีสิทธิที่จะปลอดจากการแทรกแซงจากภายนอก การรุกรานดินแดนและการบังคับขู่เข็ญ
  3. จะไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับกิจการภายในของรัฐสมาชิกอื่น ๆ
  4. ยอมรับในความแตกต่างระหว่างกัน หรือแก้ปัญหาระหว่างกันอย่างสันติ
  5. ประณามหรือไม่ยอมรับการคุกคามหรือการใช้กำลัง
  6. ให้ความร่วมมือระหว่างกันอย่างมีประสิทธิภาพ

ส่วนเรื่องเทคโนโลยีนั้น แต่ละประเทศก็มีเทคโนโลยีสารสนเทศและเทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์ที่แตกต่างกันพอสมควร ซึ่งแน่นอนว่าประเทศที่มีเทคโนโลยีสูงสุดในอาเซียนก็คือ ประเทศสิงคโปร์ ซึ่งมีองค์กรที่ชื่อว่า The Agency for Science, Technology and Research ( A*STAR) เป็นหน่วยงานของรัฐโดยเฉพาะที่ให้การสนับสนุน การวิจัย พัฒนาทางการแพทย์และด้านวิทยาศาสตร์ที่มีความโดดเด่นทั่วโลก อีกทั้งสิงคโปร์ยังมีกองทัพทันสมัยที่สุดในอาเซียน
หลายคนอาจสงสัยว่าอาเซียนกับเทคโนยีสารสนเทศและคอมพิวเตอร์มีความเชื่อมโยงกับอย่างไร ให้ทุกคนนึกถึงเรื่องเศรษฐกิจ ซึ่ง กลุ่มอาเซียนได้ให้ความสำคัญกับความร่วมมือในภูมิภาค อันประกอบด้วย "หลักสามประการ" ของความมั่นคง สังคมวัฒนธรรมและการรวมตัวทางเศรษฐกิจ การรวมกลุ่มกันในภูมิภาคได้ทำให้การรวมตัวทางเศรษฐกิจดำเนินไปอย่างรวดเร็ว ซึ่งคาดว่าจะประสบความสำเร็จในการก่อตั้สิ่งที่เรียกว่า ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ภายในปี พ.ศ. 2558 ประชาคมเศรษฐกิจดังกล่าวจะมีประชากรรวมกัน 560 ล้านคน และมูลค่าการค้ากว่า 1.4 ล้านล้านดอลล่าร์สหรัฐ ซึ่งหนึ่งในมูลค่าการค้าเหล่านี้เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศและ เรื่องของคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในส่วนของหมวดสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ นอกจากนี้ยังมีความร่วมมือระหว่างกันของกลุ่มประเทศอาเซียนเกิดขึ้นมากมาย หนึ่งในนั้นคือ แผนแม่บทไอซีทีของอาเซียน 2015 (ASEAN ICT Masterplan 2015) ซึ่งมีจุดหมายสำคัญคือ จะใช้ไอซีทีในการขับเคลื่อนด้านสังคมและเศรษฐกิจในอาเซียน ไอซีทีจะช่วยการปฎิรูปอาเซียนให้เป็นตลาดเดียว ด้วยวิธีพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐานไอซีทียุคใหม่ และพัฒนาทุนมนุษย์ที่มีฝีมือส่งเสริมอุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับงานสร้างสรรค์และนวัตกรรม จัดให้มีนโยบายส่งเสริม และสร้างสภาพแวดล้อมที่มีกฎระเบียบ ด้วยมาตรการดังกล่าว อาเซียนจะเสริมสร้างพลังให้แก่ชุมชน และผลักดันให้อาเซียนมีสถานภาพเป็นศูนย์กลางไอซีที ที่ครอบคลุมได้อย่างทั่วถึง และคืกคัก ส่งผลให้อาเซียนเป็นภูมิภาคที่เหมาะกับการพัฒนาทางเศรษฐกิจ

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ
คำว่าเทคโนโลยีหลายท่านน่าจะรู้จักคุ้นเคยกันดี แต่ชาวบ้านทั่วไปอาจไม่ทราบความหมายที่แท้จริง เทคโนโลยี หมายถึง การประยุกต์เอาความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์มาใช้ให้เกิดประโยชน์ การศึกษาพัฒนาองค์ความรู้ต่าง ๆ ก็เพื่อให้เข้าใจธรรมชาติ กฎเกณฑ์ของสิ่งต่าง ๆ และหาทางนำมาประยุกต์ให้เกิดประโยชน์ หลายท่านอาจจะยังงงอยู่ อธิบายง่ายๆ เช่น ทรายที่เราเห็นอยู่ตามพื้นดิน ตามชายหาด ซึ่งมีธาตุที่มีชื่อว่าซิลิกอน ซึ่งแน่นอนทรายที่เราเห้นนี้อาจไม่มีค่า หรือมีราคาต่ำและเรามองข้ามไป เมื่อมีบางคนที่เรียนรู้วิธีการแยกสกัดเอาสารซิลิกอนผ่านกรรมวิธีทางเทคโนโลยีให้บริสุทธิ์ และเจือสารบางอย่างให้เกิดเป็นสิ่งที่เรียกว่าสารกึ่งตัวนำ นำมาผลิตเป็นทรานซิสเตอร์ และจากจำนวนล้านๆทรานซิสเตอร์ก็บรรจุรวมกันเป็นไอซี (Integrated Circuit : IC) มีราคาสูงขึ้นมาจากทรายธรรมดามาก นั้นทำให้เทคโนโลยีจึงเป็นสิ่งที่ช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ต่างๆ
ส่วนคำว่าสารสนเทศ ความหมายง่ายๆก็คือ ความรู้ที่เราได้มาจากข้อมูลที่ผ่านการเลือกสรรให้เหมาะสมกับการใช้งานให้ทันเวลา และอยู่ในรูปที่ใช้ได้ ตัวอย่างเช่น ช่วงนี้ฝนตกบ่อย เป็นข้อความที่มีข้อมูลแต่ยังไม่ผ่านกระบวนการให้เหมาะสม แต่ถ้าเราบอกว่า ที่ปัตตานีตั้งแต่เดือนเมษายนถึงเดือนกันยายนเป็นฤดูร้อน นั่นเอง จึงเป็นข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์และผ่านการประมวลผลแล้ว ความรอบรู้ของแต่ละคนจึงขึ้นอยู่กับการเรียกใช้ข้อมูลนั้น ทุกวันนี้มีข้อมูลรอบตัวเรามาก ข้อมูลเหล่านี้มาจากสื่อ เช่น วิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรือแม้แต่การสื่อสารระหว่างบุคคล จึงมีผู้กล่าวว่ายุคนี้เป็นยุคของสารสนเทศ
ดังนั้นเราจึงสรุปได้สั้นๆว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ ก็คือ การพัฒนาด้านต่างๆเพื่อใช้กับข้อมูลข่าวสาร อาทิเช่น    การรวบรวมการจัดเก็บข้อมูล การประมวลผล การพิมพ์ การสร้างรายงาน การสื่อสารข้อมูล เป็นต้น ซึ่งนอกจากนี้อาจจะรวมไปถึงการสร้างระบบต่างๆ เช่น ระบบการให้บริการ การใช้ และการดูแลข้อมูล
ในยุคปัจจุบันไม่ว่าเราจะหาข้อมูล ติดต่อ ค้นหา ศึกษาระหว่างกัน ประเทศเพื่อนบ้านอาเซียน ไม่ว่าใกล้ไกลอย่างไรก็ต้องผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศนั่นเอง
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (INTERNET)

        สถานการณ์โลกในปัจจุบันมีความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาการและเทคโนโลยีอย่างรวดเร็วทําให้ระบบสังคมโลกเกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นในทุกส่วนของสังคมโลก  ส่งผลให้ประชากรโลกเกิดการตื่นตัวและปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตจากสังคมชนบทมาเป็นสังคมเมือง  อันนําไปสู่วิวัฒนาการของโลกทั้งในด้านเศรษฐกิจ  สังคม วัฒนธรรม  วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฯลฯ  เชื่อมโยงถึงกันอย่างเป็นระบบและ       เป็นสากล กระทั่งกล่าวกันว่าโลกปัจจุบันเป็นโลกไร้พรมแดนหรือเป็นยุคโลกาภิวัฒน์   ซึ่งหากพิจารณาจากเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดํารัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นปรัชญาที่ชี้แนะแนวทางการดําเนินชีวิต  เน้นย้ำแนวทางการแก้ไขเพื่อให้รอดพ้น และสามารถดํารงอยู่อย่างมั่นคงและยั่งยืน ภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์และความเปลี่ยนแปลงต่างๆ  เพื่อการดํารงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชนจนถึงระดับรัฐ ตลอดจนการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดําเนินไปในทางสายกลาง
     
       สำหรับเครือข่ายคอมพิวเตอร์  หรือที่เรียกว่า  อินเตอร์เน็ต (INTERNET) ถือว่าเป็นเครือข่ายที่มีการเชื่อมโยงกันอย่างเสรี ไม่มีการปิดกั้น ทําให้มีการแพร่กระจายข้อมูลข่าวสารกันอย่างมากมายและเข้าถึงข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว  มีการแลกเปลี่ยนสาระ  ความรู้ผ่านระบบกระดานข่าวและกลุ่มสนทนา  จนบางครั้งอาจกล่าวได้ว่า  อินเตอร์เน็ต  เป็นสื่อในการสนับสนุนและส่งเสริมในการดำเนินชีวิตในปัจจุบัน  ซึ่งปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับเทคโนโลยีทางด้านอินเตอร์เน็ตได้เป็นอย่างดี  โดยปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  ที่มุ่งเน้นแนวทางการดำเนินทางสายกลางจะมีส่วนส่งเสริมการใช้อินเตอร์เน็ตอย่างเหมาะสมได้ดังนี้คือ
 
      

        ความพอประมาณ  ต้องคำนึงถึงความเหมาะสมในการใช้อินเตอร์เน็ตโดยพิจารณาจากช่วงเวลา  ความสอดคล้องกับความต้องการ  สถานการณ์หรือโอกาสที่จะเลือกใช้  โดยใช้ในช่วงเวลาที่เหมาะสมในปริมาณที่ไม่มากหรือน้อยเกินไปและเกิดประโยชน์สูงสุด  เช่นใช้เพื่อการทำงาน  ค้นคว้าข้อมูลข่าวสารต่างๆ  สำหรับเพิ่มพูนความรู้  แต่ทั้งนี้ต้องไม่เกินความจำเป็นจนทำให้เกิดผลกระทบกับหน้าที่ความรับผิดชอบในด้านอื่นๆของตนเอง
   
     ความมีเหตุผล   จะต้องมีกระบวนการตัดสินใจเกี่ยวกับระดับความพอเพียงในการใช้อินเตอร์เน็ต  และคำนึงถึงเหตุผลในการเลือกใช้หรือการเข้าถึงข้อมูล  เช่น  ใช้เพื่อการติดต่อธุรกิจการค้าที่มีระยะทางหรือระยะเวลาเป็นตัวกำหนดซึ่งหากเดินทางไปด้วยตนเองอาจไม่คุ้มหรือไม่ทันต่อการดำเนินการและต้องไม่ใช้เพื่อเป็นเครื่องมือหรือช่องทางที่ไม่ถูกไม่ควร  ก่อความเดือดร้อนให้กับผู้อื่นหรือสังคมส่วนรวม
      
  การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว  เป็นการเตรียมตัวให้พร้อมกับการรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆ  ที่จะเกิดขึ้นโดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่างๆ  เช่น  การเชื่อมต่อระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์อาจมีปัญหา  อุปกรณ์ต่างๆ อาจชำรุดเสียหายจนไม่สามารถใช้งานได้  ตามปกติ  เราควรมีการเตรียมตัววางแผนรับมือไว้ให้พร้อม  ซึ่งอาจจะเปลี่ยนมาใช้การเดินทางด้วยตัวเอง  การใช้โทรศัพท์  การส่งจดหมาย เพื่อเป็นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าโดยไม่ส่งผลกระทบต่อตนเองและส่วนรวม


       
       นอกจากนี้  ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงยังมีเงื่อนไขในด้านความรู้และคุณธรรม  ซึ่งการที่เราจะนำเอาเทคโนโลยีเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทางด้านอินเตอร์เน็ตมาใช้ต้องประกอบด้วยความรอบคอบระมัดระวัง  มุ่งให้ประโยชน์แท้จริงต่อตนเองตลอดจนสังคมส่วนรวมและเป็นไปอย่างสร้างสรรค์และพอเหมาะต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน

ICT กับเศรษฐกิจพอเพียง


        เศรฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสใช้เป็นแนวทางการดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทย สำหรับประชาชนในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน ตลอดจนถึงระดับประเทศ


ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงประกอบด้วย 3 หลัก กับ 2 เงื่อนไข คือ 
1.  ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดี ที่ไม่น้อยเกินไป และ ไม่มากเกินไป โดยไม่เบียดเบียนผู้อื่นและตนเอง
2.  ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้องตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้น ๆ อย่างรอบคอบ
3.  การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นโดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่าง ๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต

 อีก เงื่อนไข  คือ
1. คุณธรรม  คือ  ผู้ที่ปฏิบัติหรือผู้ที่ตัดสินใจนั้น  ควรจะตัดสินใจด้วยคุณธรรม  เช่น ความซื่อสัตย์  ความเพียร  ความอดทน
2. ความรอบรู้  ความรอบคอบ และความระมัดระวัง  ไม่ใช่มีความรู้แค่ในตำรา  แต่ต้องเป็นความรู้ที่ได้จากประสบการณ์ด้วยในปัจจุบันระบบสารสนเทศมีความสำคัญมาก  ไม่ว่าจะเป็นการค้นหาข้อมูล  การส่งข้อมูลข่าวสาร  การติดต่อสื่อสาร  ซึ่งต้องใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เป็นสื่อกลาง  และในเครื่องคอมพิวเตอร์จะมีซอฟต์แวร์ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์  ดังนั้นถ้าเราจะนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ร่วมด้วย ก็จะต้องมีการวางแผนซื้อซอฟต์แวร์ที่เราจำเป็นต้องใช้จริง ๆ ถึงแม้ว่าจะมีราคาสูง เราก็ต้องตัดสินใจซื้อตามความเหมาะสมเพราะว่าประเทศไทยยังไม่สามารถผลิตซอฟต์แวร์ใช้เองได้ เรายังต้องสั่งซื้อจากต่างประเทศ โดยต้องดูความคุ้มทุนด้วย  แต่ถ้าเรานำแนวคิดการพัฒนาซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์สมาใช้แก้ปัญหา  ก็จะเป็นการช่วยลดค่าใช้จ่าย  ลดการผูกขาดสินค้าจากต่างประเทศ    เพราะว่าเราสามารถผลิตซอฟต์แวร์ใช้ได้เอง  และการผลิตก็ต้องเหมาะสมกับการใช้งานของคนไทย  รวมทั้งลดปัญหาการละเมิดลิขสิทธ์ของต่างประเทศ  ถึงแม้ว่าการพัฒนาซอฟต์แวร์อาจจะเป็นเรื่องยาก   แต่หากมีการปฏิบัติได้จริง  ก็จะช่วยให้คนไทยมีงานทำเพิ่มขึ้น    และอาจมีการพัฒนาความรู้ทางด้านเทคโนโลยีต่าง ๆ มากมาย